มาตรการเมื่อมีการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสีจากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์มายังประเทศไทย

Blog

เหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น มาตรการเมื่อมีการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสีจากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์มายังประเทศไทย 

สำนักงานฯได้มีการติดตั้งเครื่องวัด รังสีในอากาศทั่วประเทศ โดยติดตั้งที่กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงใหม่ และสงขลา โดยการแจ้งเตือนจะเตือนเมื่อระดับรังสีสูงกว่า ๒๐๐ nSv/hr (Investigation level)

โดยสำนักสนับสนุนกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณูเมื่อมีการฟุ้งกระจายและมีผลต่อสุขภาพของประชาชนในระดับรุนแรงนั้น สำนักงานจะมีการปฏิบัติโดยใช้แผนฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีแห่งชาติเป็น แนวทางในการปฏิบัติ ในการปฏิบัติเบื้องต้น จะมีการสุ่มตัวอย่างอาหารตามที่ต่างๆ ที่คาดว่าจะมีวัสดุกัมมันตรังสีตกลงและปนเปื้อน โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงสำหรับการปนเปื้อนในอาหารซึ่งถ้าปนเปื้อน วัสดุกัมมันตรังสีที่แผ่รังสีแกมมา จะกำหนดไว้ตามตารางที่ ๑ เมื่อค่าที่ปนเปื้อนอาหาร และน้ำเกินระดับที่กำหนด จะมีการดำเนินการดังนี้ 

  1. แนะนำให้ประชาชน ไม่ดื่ม หรือไม่รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสีดังกล่าว
  2. ถ้าวัดระดับรังสีในอากาศได้มากกว่า ๑ ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมง ขึ้นไป ให้ประชาชนหลบอยู่ในที่พักอาศัย โดยปิดประตู หน้าต่างอย่างแน่นหนา และปิดระบบระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุกัมมันตรังสีที่อยู่ในอากาศเข้ามาในที่พักอาศัยได้
  3. รอรับการแจ้งจากหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉิน (จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ) ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรต่อไป
  4. เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ สูงจนเป็นอันตรายต่อประชาชน หรือ ๑ มิลลิซีเวิร์ท แนะนำให้ประชาชนอพยพออกนอกบริเวณ และไปอยู่ในบริเวณที่มีระดับรังสีไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  5. เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ อยู่ในระดับปกติ แจ้งเตือนให้ประชาชนมีระมัดระวังในเรื่องของการเปรอะเปื้อนทางรังสีที่พื้น ดิน อาคารบ้านเรือน
  6. การป้องกันเบื้องต้นสำหรับวัสดุกัมมันตรังสี I-131 เมื่อพบว่ามีการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสี I-131 แจ้งให้ประชาชนรับประทาน โปแตสเซียมไอโอได ในทันที เพื่อลดการรับรังสีบีตา และแกมมาที่ต่อมไทรอยด์
  7. การป้องกันเบื้องต้นสำหรับวัสดุกัมมันตรังสี Cs-137 ให้รับประทาน Prussian Blue หลังจากที่ได้รับวัสดุกัมมันตรังสี Cs-137 นั้นเข้าสู่ร่างกาย (ตามคำแนะนำของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ)

ทั้งหมดนี้เป็นแนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับประชาชนคนไทย ในกรณีที่มีการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสี จากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ดังกล่าวในปริมาณที่สูงจนอาจก่อให้เกิดอันตราย

นอกจากนี้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติยังมีการตรวจวัดอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้ ประชาชนคนไทยได้มั่นใจในความปลอดภัยทั้งจากนิวเคลียร์และรังสีที่มีผลต่อ สุขภาพร่างกาย

นิวไคลด์ อาหารที่ประชาชนทั่วไปรับประทานเป็นประจำ (กิโลเบคเคอเรลต่อกิโลกรัม) น้ำนม อาหารทารก และน้ำดื่ม (กิโลเบคเคอเรลต่อกิโลกรัม)

นิวไคลด์ อาหารที่ประชาชนทั่วไปรับประทานเป็นประจำ (กิโลเบคเคอเรลต่อกิโลกรัม) น้ำนม อาหารทารก และน้ำดื่ม (กิโลเบคเคอเรลต่อกิโลกรัม)
Cs-134, Cs-137, Ru-103, Ru-106, Sr-89
I-131 ๐.๑
Sr-90 ๐.๑ ๐.๑
Am-241, Pu-238, Pu-239, Pu-240, Pu-242 ๐.๐๑ ๐.๐๐๑

ตารางที่ ๑ แสดงระดับการปนเปื้อนทางรังสีที่ต้องมีการปฏิบัติการสำหรับอาหาร

โดย : กลุ่มเตรียมความพร้อมประสานงานกรณีฉุกเฉินทางรังสี สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ดาวน์โหลด

 

ที่มา : สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

Moui

Just say.

More Posts - Website

Follow Me:
TwitterFacebookPinterest