เรื่องของบะจ่าง กับ ความเป็นคนรักชาติ

มาพูดถึงบะจ่างสักนิด มีอ้างในวิกิพีเดียด้วย http://bit.ly/dnqbEM บะ จ่าง ดั้งเดิมคือสิ่งที่ชาวบ้านห่ออาหารขึ้นมาแล้วโยนลงไปในน้ำ เพื่อมิให้ปลามันไปแทะศพของ ชวีหยวน เพราะ ชวีหยวน ได้รับยกย่องว่าเป็นคนรักชาติ ชวี หยวน เป็นข้าราชการในแคว้นหนึ่งของจีน (ที่เมื่อก่อนมีสารพัดแคว้น) เขาก็พยายามจะบอกกษัตริย์ว่า อย่าให้ข้าราชการกังฉินโกงกินจะสิ้นชาติ แต่ฮ่องเต้หาใส่ใจไม่ กลับขับไล่ให้ชวีหยวนพ้นจากตำแหน่งไป ชวีหยวนช้ำใจแต่ก็ยอมเชื่อฟังคำสั่งฮ่องเต้ แต่มาแคว้นก็ล่มสลาย ชวี หยวนรู้ว่าตัวเองช่วยชาติไม่ได้ ด้วยความเสียใจ จึงไปกระโดดน้ำตาย (ด้วยความรักชาติ) ชาวบ้านที่รู้ถึงความรักชาติของชวีหยวนก็ออกมาหาศพ แต่ ก็หาไม่เจอ จึงทำช่วยกันห่อบะจ่างขึ้นมา แล้วโยนลงไปในน้ำ เพื่อล่อให้ปลามาแทะบะจ่างแทนศพชวีหยวน และทำเป็นประเพณีนี้สืบทอดติดต่อกันมา ชวี หยวนฆ่าตัวตายตอนเดือน 5 วันที่ 5 ฉะนั้นทุกวันนั้น จึงถือว่าเป็นวันของคนรักชาติ การไหว้บะจ่างที่ต่อมาเป็นอาหารนั้น เป็นการไหว้ให้ชวีหยวน แต่เป็นนัยยะว่า เพื่อระลึกถึงคนรักชาติที่ยอมตายเพราะช่วยชาติไม่ได้ ส่วนคนถิ่นอื่น เช่น แต้จิ๋ว ไหหลำ ฮกเกี้ยน ก็ไหว้บะจ่าง .. แต่ธรรมเนียมไหว้จ่างก็เพี้ยนไปเป็นการไหว้เจ้า แต่จริงๆ ไม่ใช่ เป็นการไหว้ถึงคนรักชาติ […]

Continue Reading

เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา (ไม่ปรากฏนามผู้แต่งแน่ชัด)

สมัยยังวัยรุ่น ตามอ่านนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ของคุณ ว.วินิจฉัยกุล มาตลอด เรียกได้ว่าติดงอมแงม ไล่เล่มมาแทบทุกเรื่อง มีอยู่ series หนึ่ง เป็น series ที่เกี่ยวกับ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ค่ะ จะมีสองชุด (ชุดละสองเล่ม) คือ สายโลหิต และ ญาติกา สองเรื่องนี้จะเป็นตอนต่อกันและกัน ถ้าใครเป็นแฟนหนังสือ ว.วินิจฉัยกุล จะรู้ดีว่า ว.วินิจฉัยกุล เป็นนามแฝงชื่อหนึ่งของ รศ.ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ (นามแฝงดังอีกชื่อคือ แก้วเก้า) อ.วินิตา หรือ ว.วินิจฉัยกุล เมื่อเขียนหนังสือ ก็มักจะยกคำกลอน คำคม บทกวี ฯลฯ มาประกอบในงานเขียนเสมอๆ ด้วยเกรงว่า คนรุ่นใหม่จะไม่ซาบซึ้งหรืออ่านกลอน บทกวีเหล่านั้นไม่เข้าใจดีพอ อาจารย์เมื่อยกกลอนดังกล่าวมาอ้างในหนังสือ ก็จะพยายามอธิบายเป็นร้อยแก้วประกอบเสมอๆ ในหนังสือ สายโลหิต นั้น เป็นตอนก่อนกรุงศรีฯ จะแตก ในช่วงนั้นบ้านเมืองปราศจากความสามัคคี แตกคอกัน ไม่เป็นระส่ำระสาย […]

Continue Reading

บ่อนไก่ เหลือง-แดง ความบอบช้ำใต้ซากห่ากระสุนและควันไฟ

This blog is telling about Ban Kai where I visited this afternoon to view the changes after craskdown last week.  By the way, I wrote it in Thai and initially I intended to tweet to my twibbles to read.  Here is my achieve tweets for my memorizing to all Thais who were facing the same […]

Continue Reading

จากรวันดา ถึงราชประสงค์… สงครามกลางเมืองอีกแล้วหรือ?

จากรวันดา ถึงราชประสงค์… สงครามกลางเมืองอีกแล้วหรือ? โพสต์ทูเดย์ วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2553 Section B ต่างประเทศ หน้า B4 สถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ที่เต็มไปด้วยการใช้กำลังความรุนแรง การสูญเสียเลือดเนื้อ และการเผชิญกันอย่างชัดเจนของคู่กรณีของสีต่างๆ ในสังคม กำลังเข้าสู่ภาวะที่เปราะบางและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง หลายฝ่ายทั้งนักวิชาการไทยและเทศ ต่างแสดงความวิตกกังวลถึงความขัดแย้งดังกล่าวอาจจะลุกลามพัฒนาไปสู่ภาวะ “สงครามกลางเมือง” หรือสงครามที่คนในชาติเดียวกันลุกขึ้นมารบราฆ่าฟัน และมุ่งหมายจะเอาชีวิตกันเอง ย้อนกลับไปในอดีต สงครามกลางเมืองคงไม่ใช่สิ่งที่ผิดประหลาด หรือไม่เคยเกิดขึ้น หากแต่ว่าสงครามกลางเมืองเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์ขึ้น จนกระทั่งพัฒนาไปเป็นความเกลียดชังระหว่างคนในชาติ สงครามกลางเมืองครั้งที่ถือได้ว่าสร้างความสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งคงหนีไม่พ้น “สงครามกลางเมืองในรวันดา” อันเป็นความขัดแย้งระหว่างสองชนเผ่า คือ ฮูตู กับ ทุตซี ซึ่งในที่สุดพัฒนาไปเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และเป็นเหตุให้ประชาชนชาวรวันดาถูกสังหารไปนับล้านคนในเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้น สาเหตุของความขัดแย้งที่พัฒนาไปเป็นสงครามกลางเมืองในรวันดาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่รวันดายังเป็นอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของเบลเยียม ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว เบลเยี่ยมจัดการปกครองรวันดาโดยให้ชนเผ่าทุตซี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ร่ำรวย มีการศึกษาดี เป็นนักรบ แต่เป็นคนส่วนน้อยของประเทศได้ทำหน้าที่ในการปกครองประเทศ ในขณะเดียวกันเบลเยียมก็กลับปฏิบัติกับชาวฮูตู ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่เยี่ยงพลเมืองชั้นสองของประเทศ การกระทำดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจกับชนเผ่าฮูตู และทำให้เกิดความรู้สึกบ่มเพาะในกลุ่มชาวฮูตู ว่าตนในฐานะเจ้าของประเทศจะต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ชนเผ่าของตนได้กลับมาปกครองประเทศ เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างสองชนเผ่าเริ่มขึ้นอีกครั้ง ภายหลังจากที่เบลเยียมประกาศให้เอกราชแก่รวันดา และทำให้ชาวฮูตูเข้าไปมีอำนาจเป็นรัฐบาลปกครองรวันดา ในช่วงปี 2533 […]

Continue Reading

tweet เล่าเหตุการณ์การปะทะที่แยกศาลาแดง

เมื่อวานไปประชุมกับ @icez และ @sugree ที่สีลมกันค่ะ เลยได้เจอการปะทะสดตอนที่จะแยกย้ายกลับบ้าน ช่วงเวลาประมาณ 23.10 – 23.40 น. วันพุธที่ 21 เมษายน 2553 ณ ปากถนนสีลม ฝั่งหน้าโรงแรมดุสิตธานี แกนนำกำลังแถลงข่าว about 7 hours ago via TweetDeck สติสตังไม่ค่อยติดตัว ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา about 7 hours ago via TweetDeck ออกไปขับรถเล่นสักหน่อยดีกว่ามั้ง? about 7 hours ago via TweetDeck เดี๋ยวไปเดินเล่นสวนลุม สีลม ดีกว่า about 7 hours ago via TweetDeck @paiboona เศร้าน่ะค่ะ นั่งร้องไห้พักนึงแล้วค่ะ เดี๋ยวว่าจะขับรถไปดูอย่างอื่น เปลี่ยนอารมณ์นิดนึง about […]

Continue Reading

..จาก พ.ศ.2499 คอมมิวนิสต์ลาดยาว ถึง พ.ศ.2552 สังคมประชาธิปไตย?

สำหรับคนที่ไม่เคยทราบมาก่อน ขอท้าวความนิดเดียวว่า พ่อ ครั้งหนึ่งเคยถูกจับยัดข้อหา “คอมมิวนิสต์” เมื่ออายุ 19 ปี ในปี พ.ศ. 2499 โดยปราศจากการสอบสวน และถุกจับไปกุมขังที่คุกที่ชื่อว่า “ลาดยาว” หรือที่พวกท่านและเพื่อนขนานนามกันว่า มันคือ “มหาวิทยาลัยชีวิต – มหาวิทยาลัยลาดยาว” พ่อ ถูกขังอยู่ 4 พุทธศักราช แต่รวมระยะเวลาเกือบ 2 ปีกว่าเท่านั้น ก็ได้รับการปล่อยตัวเงียบ ก่อนหน้าที่จะได้มีโอกาสไปร่วมวงไพบูลย์กับพ่อและผองเพื่อนวันนี้ เกิดมาจากว่า พ่อ ได้พบเพื่อนเก่าท่านหนึ่ง – คุณชเลง และได้หยิบยืมหนังสือชื่อว่า “คอมมิวนิสต์ลาดยาว” ที่เขียนโดยอีกหนึ่งของคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ – คุณทองใบ ทองเปาด์ หนังสือเล่มนี้ มีหลายตอนที่เขียนเล่าถึง พ่อ แต่สิ่งที่ทำให้มันเป็นสื่อกลางก็เพราะ เมื่อเราได้เห็นหนังสือ (เพราะพ่อเอามาอวด) ก็เลยขอยืมมาถ่ายรูปขึ้นเว็บก่อน ทำให้คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี เห็นภาพ และได้บอกกล่าวต่อคุณทองใบ ทองเปาด์ ผลคือ จากเครือข่ายใยแมงมุม ทำให้เพื่อนเก่าที่ไม่ได้พบกันมานานหลายสิบปี ได้มีโอกาสมาพบหน้ากันในวันนี้ […]

Continue Reading