ความเด่นด้าน Security ของ BlackBerry 10

Blog Hardware

ใช้โทรศัพท์มือถือแล้วกลัวไหมกับโทรศัพท์หาย หรือโทรศัพท์ถูกขโมย แล้วข้อมูลสำคัญถูกนำไปใช้ต่อในทางมิชอบไหม

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาคอขาดบาดตายของผู้ใช้งานโทรศัพท์พวกสมาร์ทโฟนทุกคน ยิ่งในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือถูกใช้มิต่างจากคอมพิวเตอร์พกพาเครื่องเล็กๆ ไปแล้วด้วยเครื่องหนึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลองค์กร ข้อมูลลูกค้า มักถูกเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือ หากผู้ที่ได้ข้อมูลเหล่านี้ไปแล้วนำมาเรียกค่าไถ่ หรือเอาไปโพสต์ให้อับอายในที่สาธารณะ ย่อมทำให้เจ้าของโทรศัพท์มือถือเสื่อมเสียชื่อเสียง เงินทอง หรือส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานและครอบครัวได้

เพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าว สำหรับคนที่รักความเป็นส่วนตัว การป้องกันระมัดระวังไว้ล่วงหน้าย่อมดีกว่าปล่อยให้เกิดความเสียหายแล้วค่อยมาตามแก้ปัญหาไล่หลัง

วิธีคิดอย่างแรกในการป้องกันเรื่องข้อมูลในโทรศัพท์ถูกลักลอบใช้โดยมิชอบมีหลายวิธี เริ่มต้นจากอุปกรณ์ที่คนมักไม่คิดถึงก่อน นั่นคือเจ้าหน่วยเก็บความจำขนาดจิ๋วอย่าง MicroSD ซึ่งมักเป็นที่เก็บข้อมูลภาพ วีดิโอ เสียง หรือไฟล์เอกสารสำคัญ เจ้า MicroSD นี้ มักจะเป็นสิ่งแรกๆ สำหรับผู้ที่ต้องการโจรกรรมความลับ จะต้องถอดเอาออกไปใช้ (ซึ่งสะดวกกว่ามานั่งแฮ็กค์เครื่องโทรศัพท์มือถือกว่าเป็นไหนๆ)

การป้องกันไม่ให้ MicroSD ถูกขโมย ก็อาจต้องไม่ปล่อยให้โทรศัพท์ไปพ้นสายตา แต่พูดตามจริง การนั่งเฝ้าโทรศัพท์มือถือทั้งวันไม่ให้คลาดสายตาก็เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ฉะนั้น ก็คงต้องใช้เทคโนโลยีมาเป็นทางเลือกแทน นั่นคือการเข้ารหัสเจ้า MicroSD ซึ่งเครื่อง BlackBerry มีเมนูเลือกเพื่อให้เข้ารหัสหน่วยความจำภายใต้หมวด System Setting > Security and Privacy > Encryption ซึ่งภายใต้ตัวเลือกนี้ จะสามารถเลือกที่จะเข้ารหัสข้อมูลบนตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือเอง และ/หรือ เข้ารหัสเจ้า MicroSD ที่พูดถึงด้วยก็ได้ โดยจะต้องตั้งรหัสลับ 2 ชุด สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลบนตัวเครื่อง อีกชุดสำหรับการเข้ารหัสข้อมูลหน่วยความจำ MicroSD นั่นเอง

การเพิ่มความปลอดภัยด้านข้อมูลที่ควรทำให้เป็นนิสัยอีกประการหนึ่งก็คือ การตั้งรหัสเข้าเครื่องและการตั้งรหัสซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ การต้องกรอกรหัสเครื่องเพื่อไม่ให้ใครแอบมากดเครื่องโทรศัพท์เราเล่นโดยที่เราไม่รู้ตัว ส่วนการตั้งรหัสซิมการ์ดก็เพื่อไม่ให้คนที่ได้โทรศัพท์เราไป สามารถเปิดโทรศัพท์เราแล้วโทรออกหรือส่งข้อความอะไรต่างๆ ได้ (การกรอกรหัสซิมการ์ดผิด 3 หน ระบบจะให้เรากรอก PUK Code ซึ่งขอรับได้จากผู้ให้บริการบริษัทได้)

ประการถัดมาสำหรับผู้ที่รักความเป็นส่วนตัว BlackBerry ยังคงความสามารถให้ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดค่าได้ว่า ในแต่ละโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องโทรศัพท์นั้นๆ ว่าจะยอมให้โปรแกรมนั้น ใช้ฟีเจอร์อะไรในเครื่องได้บ้าง ตามตัวอย่างประกอบของโปรแกรม twitter ระบบ security ของ BlackBerry ให้เรากำหนดสิทธิเองได้ว่า จะให้ twitter รู้พิกัดของเรา และพิกัดเราจาก GPS เครื่องหรือไม่ รวมถึงจะยอมให้มีการแชร์ไฟล์จากในเครื่องมือถือเราไหม ซึ่งความสามารถในการกำหนดค่าพวกนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะของมือถือตระกูล BlackBerry จริงๆ

หรืออีกตัวอย่าง โปรแกรมแผนที่ (map) ก็สามารถตั้งค่าให้โปรแกรมตรวจสอบได้ว่า เราใช้โทรศัพท์โทรออกจากบริเวณใด สำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว คงไม่อยากให้โปรแกรมไหนๆ เก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้บอกโลกหรอก

อนึ่ง ฟีเจอร์การตั้งค่าในเครื่อง BlackBerry แต่ละเครื่องได้นั้น ยังเป็นที่ต้องการใช้ในกลุ่มองค์กรธุรกิจอยู่มาก เนื่องจากสามารถกำหนดสิทธิการใช้งานของเครื่องมือถือพนักงานได้โดยไม่ต้องมาแตะที่ตัวเครื่องพนักงานเลย ผ่านระบบที่เรียกว่า BlackBerry® Enterprise Service 10 (BES10) ซึ่งถ้าในองค์กรมีเครื่อง BlackBerry 10 ถึง 10 เครื่อง (ซึ่งได้แก่รุ่น BlackBerry Z10 และ BlackBerry Q10 เท่านั้น) จะสามารถดาวน์โหลดระบบนี้มาติดตั้งเพื่อใช้ทดสอบการควบคุมเครื่อง BlackBerry ของพนักงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ http://us.blackberry.com/business/blackberry-10/blackberry-10-ready/license-offer.html แต่มีเงื่อนไขต้องลงทะเบียน PIN หรือ IMEI ภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้เท่านั้น

และโปรแกรมสำคัญสำหรับผู้ที่รักความเป็นส่วนตัวและระวังเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล นั่นคือโปรแกรมล้างเครื่อง BlackBerry ก่อนที่จะทำการขายต่อเครื่อง หรือยกเครื่องให้ผู้อื่นใช้ แนะนำให้ทำการล้างเครื่องให้เรียบร้อยก่อนทุกเครื่อง จะได้ไม่มีภาพหรือคลิปประหลาดๆ หลุดออกไปให้ได้อายค่ะ

ภาพตัวอย่างหน้าจอเกี่ยวกับ Security และ Privacy ที่เขียนในบทความนี้

[dmalbum path=”/wp-content/uploads/dm-albums/poomjit@gmail.com/BB-Security/”/]

Moui

Just say.

More Posts - Website

Follow Me:
TwitterFacebookPinterest