@mouifact – my Impersonation case on Twitter.com

Security Twitter

ขอเล่าสถานการณ์เท่าที่เล่าได้ดีกว่า ใครที่โดนจะได้รู้วิธีจัดการ
แต่ว่า เป็นแบบ unofficial นะคะ เพราะต้องรอคณะอนุฯ ทำเป็นกรณีศึกษา

จากเหตุการณ์โดนปลอมชื่อ (ภาพเหตุการณ์

@mouifact
ภาพการปลอมแปลง @mouifact เลียนแบบเป็น @moui

กรณี twitter เรียกว่า impersonation (http://bit.ly/abYgbB)

วันนี้ในการประชุม ก็ต้องปรับพื้นให้อนุกรรมการทุกท่าน
เข้าใจเรื่องของสังคมออนไลน์และสังคมออฟไลน์
(ไม่รู้จะเรียกคำนี้ว่าอะไรดี)

ใน slide ที่ทำ คิดอยู่ตั้งสองวัน เลยแปลความเป็น
วงกลม 2 วง แต่มีส่วนมาทับกัน พื้นที่ที่ทับกันนั้น
เป็นพื้นที่ ๆ คนออนไลน์และคนออฟไลน์เจอกัน

Online and Offline Communities in my idea

คนออนไลน์เพียวๆ ให้คิดถึงกลุ่มอาชีพ เช่น คนทำเว็บ
คนทำโฮสต์ ไอเอสพี ฯลฯ ที่ไม่จำเป็นต้องเจอกัน ก็ทำงานได้

ถ้าเป็นกลุ่มออฟไลน์เพียวๆ ก็จะเป็นคนที่ต้องเจอคนจริงๆ เช่นกัน
ถึงจะทำงานได้, ส่วนที่อยู่ระหว่างกลางนั้น คือคนจำนวนมหาศาล
ที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น

ปูพื้นไปตามนี้ ก็เรียนประธานไปว่า ขอ declare ว่า
ตัวเองเป็นคน online 100% (ใครนึกไม่ออกให้นึกถึงปลาตีนนะคะ)
บางวัน เราก็ต้องทำงานเจอคนบ้าง

ปลาตีน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ แต่บางทีก็เดินๆ ขึ้นบกบ้าง
เราเป็นแบบเดียวกะปลาตีนเลย (นี่ไม่หยาบคายนะ พูดตามเป็นจริง)

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นความผิดในสังคมออนไลน์ ที่คนออฟไลน์
เห็นว่าเป็นเรื่องขี้ประติ๋ว ก็ช่างหัวมัน เดี๋ยวก็ผ่านไป แต่จริงๆ คนออฟไลน์ไม่รู้

หากว่า เป็นการเขียนด่าไปเรื่อยเปื่อย ผู้กระทำการด่านั้น
เป็นใครสักคนที่เป็นชื่อสมมติ ความผิดอย่างเก่งก็แค่หมิ่นประมาท

แต่กรณีที่หมวยเจอ อย่าง twitter เรียก impersonation
แต่จริงๆ มันคือ phishing แบบหนึ่ง หรือจะเรียกว่าเป็นแนว idenitity-theft

ถ้าเราห่วงเรื่อง privacy อย่างสูง และติดตามข่าวเรื่อง security
เรื่อง cyberwar เรื่อง identity เป็นเรืองคอขาดบาดตายในโลกออนไลน์

เช่น การบังคับให้คนต้องลงทะเบียนบัตรประชาชนเพื่อระบุ iden
หรือ id (ย่อจาก identity) ในโลกออนไลน์ – กรณีนี้ ใครบ้างเต็มใจทำ???

แต่เมื่อไม่อยากจะให้มีการบังคับลงทะเบียนเช่นนั้น จะทำอย่างไร
เมื่อมีการปลอม id เกิดขึ้น เช่นกรณี @mouifact ที่มีไปแล้ว

ความผิดนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องหมิ่นประมาท ยังผิดอีกหลายข้อตาม
พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ (อันนี้เป็นเรื่องออฟไลน์ละ)

และการทำลายหลักฐานในโลกออนไลน์มันเร็ว
เหมือนกับความผิดที่ก่อตัวเร็ว เช่นกัน และหากว่า
ใครๆ ยอมปล่อยให้ถูกสวมรอยเป็นใครก็ได้

ความลำบากที่พบคือ คนออนไลน์จะไม่เข้าใจคนออฟไลน์
และคนออฟไลน์ไม่เข้าใจคนออนไลน์ และแย่ที่สุดคือ
คนไม่ค่อยรู้อะไรเลย ซวยที่สุดถ้าโดนแบบนี้

ปลาตีน อย่างเราแม้จะเดินได้ แต่อยากว่ายน้ำมากกว่า
เราได้เก็บข้อมูล ประสานงาน twitter ไว้หมดแล้ว
คราวนี้เหลือแต่การแจ้งความ (ออฟไลน์ล่ะ)

จากการประชุม และสรุปกันคร่าวๆ คือ ทางกระทรวงจะทำการ
แปลเงื่อนไขการใช้บริการพวก social networking ดังๆ
ไว้ให้ชาวบ้านมาอ่านกัน

แต่ในส่วนการดำเนินงานอื่นๆ ต่อไปนั้น ก็จะใช้กรณีนี้
เป็นกรณีศึกษา สำหรับทำเป็น guideline ให้กับทั้งประชาชน
คนอยากออนไลน์ ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

บอกตามจริงว่า เมื่อถึงขั้นตอนจะต้องไปแจ้งความ ก็เริ่มมึน
ปลาตีนหลงทาง ไปต่อไม่ถูกค่ะ แต่ท่านกรรมการได้แนะนำไว้แล้วว่า
ต้องทำอย่างไรต่อไป

ตอนนี้ก็สามารถเล่าสถานการณ์อย่างย่อได้เพียงเท่านั้น

แล้วรอติดตามตอนต่อไปนะคะ อิอิ

คัดลองจาก twitter @moui วันที่ 2 กรกฏาคม 2553

Moui

Just say.

More Posts - Website

Follow Me:
TwitterFacebookPinterest