เหตุแผ่นดินไหวที่เชียงใหม่ กับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยแผ่นดินไหวของคนญี่ปุ่น

Disaster Living

ได้คุยกับเพื่อนที่อยู่เชียงใหม่ช่วงเวลาหลังเกิดแผ่นดินไหวไปแล้ว 1 วัน และอ่านจากกระทู้ต่างๆ ที่รายงาน, พูดถึงแผ่นดินไหวที่เกิดที่เชียงใหม่ในช่วงสัปดาห์ที่แผ่นมา แล้วอดนึกห่วงแทนคนแถวนั้นไม่ได้

เหตุที่ห่วง ก็เพราะคนที่ประสบเหตุต่างรู้สึกตื่นเต้น (มากกว่าตกใจกลัว) กับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น (บางคนถึงกับรู้สึกสนุกด้วยซ้ำ) ความคิดแบบนี้ เป็นความคิดที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะบ่งบอกให้รู้ว่า ไม่มีความรู้ความเข้าใจกับภัยแผ่นดินไหวเอาเสียเลย และถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวที่เลวร้าย รุนแรงจริง ผู้ประสบภัยเหล่านี้ จะเอาตัวไม่รอดจริงๆ ในที่สุด

ดิฉันเคยอ่าน, เคยดูสารคดี เกี่ยวกับสาเหตุของแผ่นดินไหว, ผลพวงผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหว รวมไปถึงการป้องกัน เตรียมรับมือเมื่อประสบเหตุด้วย การเตรียมป้องกันนี้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ให้ประชาชนต่างคนต่างเตรียมรับมือด้วยตนเอง และ รัฐบาล,ผู้ประกอบการช่วยกันสร้างสถานที่หรือใช้วิทยาศาสตร์ในการรับมือแผ่น ดินไหว

ในส่วนของประชาชนนั้น ค่อนข้างง่าย นั่นคือ ให้เตรียม survivor kit, รับฟังข่าวประการอพยพ, รู้บริเวณที่เตรียมไว้สำหรับการอพยพและขอความช่วยเหลือ, การซ้อมหนีภัยแผ่นดินไหว เป็นระยะๆ

แต่ในส่วนของภาครัฐและผู้ประกอบ การ มีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการเตรียม infrastructure (โครงสร้างอาคาร ถนน หนทางต่างๆ) ให้เหมาะสม, การออกแบบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุหลังแผ่นดินไหว, การฝึกซ้อมเตรียมหน่วยกู้ภัยต่างๆ, วิศวกรก็มีการออกแบบอาคารที่แข็งแรงพอจะรับมือแผ่นดินไหว (ถ้าไหวไม่รุนแรงเกินเหตุ)

แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ภัยแผ่นดินไหวนั้น เป็นภัยที่หลบเลี่ยงไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์อาจจะตรวจวัดได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว แต่ก็จะทราบล่วงหน้าในเวลากระชั้นชิดมาก ต่างไปจากภัยพิบัติอย่างสึนามิ, หรือพายุไต้ฝุ่น ที่จะสังเกตการก่อตัวและแจ้งเหตุเตือนภัยได้ทันกว่า

ความ รุนแรงของแผ่นดินไหวนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้อาคารบ้านเรือน ถนนหนทางเสียหาย มีความอันตรายอีกอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหวคือ ไฟไหม้ เนื่องจากแผ่นดินที่ไหว มักทำให้ท่อแก๊สใต้ดิน หรือถังแก๊สที่อยู่ในบ้านเรือนขาดหรือแตกหรือรั่วออกมา ซึ่งมักส่งผลให้มีไฟไหม้ตามมาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวไปแล้ว จะมีเหตุการณ์ทำนองนี้ ที่ขึ้นชื่อก็อย่างเช่นที่ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในซานฟรานซิสโก และไฟไหม้เมือง ส่งผลให้เมืองทั้งเมืองวอดวาย จากนั้นจึงมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่แทนเมืองเก่าที่เสียหายไป

หรือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น แรงบ้าง ไม่แรงบ้างสลับไป ในสารคดีตอนหนึ่งที่ดิฉันดูเกี่ยวกับการเตรียมรับมือภัยแผ่นดินไหวของ ญี่ปุ่น ต่อเรื่องการซ้อมหนีภัยแผ่นดินไหว ในสารคดี สรุปปิดท้ายว่า การซ้อมหนีภัยนั้น ในความเป็นจริง มันไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ทุกคน แต่ทุกคนรู้ดีว่า ประเทศตนเอง อยู่ในแนวแผ่นดินไหว การได้ซ้อมหนีภัย ทำให้คนที่อยู่บนเปลือกโลกอันอ่อนไหว ได้เตรียมใจให้สู้กับภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาอย่างมีสติ กำลังใจเท่านั้น ที่ทำให้มนุษย์ยอมสู้ชีวิตต่อไป ถ้าหากคนญี่ปุ่น กลัวแผ่นดินไหวแล้วไซร้ คนญี่ปุ่นก็ย่อมทิ้งแผ่นดิน ไปหาแผ่นดินที่เปลือกโลกไม่อ่อนไหวอย่างที่เป็นอยู่

จากการค้นเล่นๆ ของดิฉัน พบเว็บน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น และการรับมือภัยแผ่นดินไหว หากสนใจสามารถตามอ่านได้นะคะ

 

ขออนุญาตหยิบข้อมูลจาก link มาไว้ ณ ที่นี่นะคะ

The Tokai Earthquake and the Warning Declaration

แผ่น ดินไหวโตไก เป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงและคาดว่าจะเกิดขึ้นในบริเวณนั้น ดังนั้น ถ้ามีการพยากรณ์ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวนี้ขึ้น นายกรัฐมนตรีจะประกาศเหตุฉุกเฉิน ขอให้ประชาชนเตรียมตัว ดังนี้

1. รับฟังประกาศจากแหล่งต่างๆ

วิทยุ โทรทัศน์

ประกาศจากเจ้าหน้าที่กู้ภัย

รับฟังเสียงไซเรน
(ไซเรนดัง 45 วินาที แล้วหยุด 15 วินาที สลับไปเรื่อยๆ)

2. เมื่อมีการประกาศแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ

  • ให้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ให้น้อยที่สุด หรือปิดไปเลย ถ้าเป็นไปได้
  • การใช้โทรศัพท์จะถูกจำกัดการใช้
  • การเดินทางสาธารณะจะหยุดให้บริการ รถไฟต่างๆ จะหยุดที่สถานีใกล้ที่สุด
  • เด็กจะถูกส่งกลับบ้านหรือส่งไปยังผู้ปกครอง
  • มีการปิดการจราจรทางถนน

ใน หน้าดังกล่าง จะมีการแนะนำการเตรียมความพร้อมรับมือประจำวันไว้ด้วย ทุกอย่างบ่งบอกได้ว่า ประชาชนที่อยู่ในเขตแผ่นดินไหว ได้มีการตระเตรียมตัวไว้แล้ว เมื่อย้อนกลับมาคิดถึง ชาวเชียงใหม่ที่ประสบเหตุแผ่นดินไหวแล้ว ดิฉันเสียวสันหลังวาบแทนไม่ได้เลยจริงๆ

ถึงเวลาแล้วนะคะ ที่ทุกคนต้องรู้วิธีการเอาตัวรอดในเหตุภัยพิบัติแบบต่างๆ จะเริ่มลงมือกันหรือยังคะ

Moui

Just say.

More Posts - Website

Follow Me:
TwitterFacebookPinterest